“อาสาพา(PAR)กรอก”

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค หรือ KRAC ภายใต้การดำเนินงานของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนับสนุนโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการด้านการต่อต้านคอร์รัปชันสำหรับนิสิต และบุคคลทั่วไป “อาสาพา(PAR)กรอก” ภายใต้ “โครงการร้อยพลังสร้างเสริมธรรมาภิบาล (Collaboration for Good Governance) และโครงการพัฒนาเครื่องมือฐานข้อมูลผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและข้าราชการระดับสูง ระยะที่ 2 (ACT Ai Politics Data)” ร่วมกับ งานร้อยพลังสร้างสังคมดี มูลนิธิเพื่อคนไทย องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (WeVis) บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด บริษัท คะน้า รีเสิร์ช คิวเรเตอร์ จำกัด และภาคีเครือข่ายอื่น ๆ

 

กิจกรรมดังกล่าวเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเรียนรู้การใช้ข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Data) และบทบาทของประชาชนในการมีส่วนร่วมตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐผ่านการใช้ข้อมูล โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) ชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้เข้าร่วมรูปแบบออนไลน์ ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้มีส่วนร่วมในการสร้างฐานข้อมูลด้วยการช่วยแปลงข้อมูลบัญชีทรัพย์สินฯ ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้เป็นรูปแบบดิจิทัลในฐานข้อมูลความโปร่งใสของ ACT Ai เพื่อนำไปใช้ประโยชน์จริงในการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อสร้างความโปร่งใสทางการเมือง (Political Transparency) บนเว็บไซต์ poldata.actai.co ที่ประชาชนทุกคนจะสามารถค้นหาและตรวจสอบข้อมูลทรัพย์สินฯ ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ง่าย ตลอดจนร่วมสร้างสังคมที่มีการเข้าถึงข้อมูลและมีส่วนร่วมในการต่อต้านคอร์รัปชันของสังคมในอนาคต ถือเป็นการเสริมสร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาการคอร์รัปชันผ่านการลงมือทำ และเป็นการบูรณาการองค์ความรู้ระหว่างศาสตร์ต่าง ๆ ทั้งในเชิงวิชาการ แนวปฏิบัติ และกรณีศึกษาที่น่าสนใจ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบุคคลทั่วไป และนิสิต นักศึกษา ในเรื่องการคอร์รัปชันและแนวปฏิบัติด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน (Corruption Literacy) รวมถึงการจัดอบรมแนะนำการใช้งานเครื่องมือ ACT Ai

 

กิจกรรม "อาสาพา(PAR)กรอก" มีระยะเวลาการดำเนินงาน ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน – 9 ธันวาคม 2566 และกำหนดสรุปผลกิจกรรมวันที่ 15 ธันวาคม 2566 โดยมีผู้สมัครเข้าร่วมเป็นอาสาจำนวน 22 คน  สำหรับผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ก็ยังสามารถร่วมติดตามกิจกรรม "อาสาพา (PAR) กรอก" ในครั้งต่อไปได้ผ่าน #อาสาพากรอก #อาสาPARกรอก รวมทั้งยังเข้ามาติดตามตรวจสอบข้อมูลบัญชีทรัพย์สินฯ นักการเมืองได้ บนแพลตฟอร์ม ACT Ai Politics Data (poldata.actai.co)

 

ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค หรือ KRAC ภายใต้การดำเนินงานของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนับสนุนโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มีภารกิจเพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และเผยแพร่องค์ความรู้เชิงวิชาการและภาคปฏิบัติด้านการต่อต้านคอร์รัปชันในประเทศไทย และพัฒนาและขยายเครือข่ายความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชันในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนร่วมพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการต่อต้านคอร์รัปชันที่สามารถนำไปแก้ไขปัญหาและสร้างการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์การคอร์รัปชันในประเทศไทยในทางที่ดีขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และยั่งยืนภายใต้ความร่วมมือกับเครือข่ายระดับนานาชาติ...

 

ภาพบรรยากาศกิจกรรม 

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: KRAC Corruption

หรือสามารถแชร์ต่อโพสต์ประชาสัมพันธ์ของเพจ KRAC: facebook.com/KRACcorruption/posts/